วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

การเข้าหัว RJ-45 ตามมารตฐาน


ตารางที่ 1 แบบ T568B Crossover



RJ-45
CABLE (CAT 5)
Pin
Symbol
Color
1
TD+ ขาวส้ม
2
TD- ส้ม
3
RX+ ขาวเขียว
4
Not Assigned น้ำเงิน
5
Not Assigned ขาวน้ำเงิน
6
RX- เขียว
7
Not Assigned ขาวน้ำตาล
8
Not Assigned น้ำตาล



ตารางที่ 2 แบบ T568A (Cross)
RJ-45
CABLE (CAT 5)
Pin
Symbol
Color
1
TD+ ขาวเขียว
2
TD- เขียว
3
RX+ ขาวส้ม
4
Not Assigned น้ำเงิน
5
Not Assigned ขาวน้ำเงิน
6
RX- ส้ม
7
Not Assigned ขาวน้ำตาล
8
Not Assigned น้ำตาล
วิธีการเข้าหัวทั้ง 2 แบบ
- การเข้าแบบธรรมดา เป็นการเชื่อมต่อแบบต่างอุปกรณ์ เช่น การใช้สายต่อกันระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ Switch หรือ HUB

Crossover Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Rx+ 1 Rc+
2 Rc- 2 Rc-
3 Tx+ 3 Tx+
6 Tx- 6 Tx-


Straight Through Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Tx+ 1 Rc+
2 Tx- 2 Rc-
3 Rc+ 3 Tx+
6 Rc- 6 Tx-


- การเข้าแบบไขว้ หรือ Cross เป็น การเข้าสายแบบ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน เช่น HUB to HUB ,Switch To Swich หรือ คอมพิวเตอร์อ กับ คอมพิวเตอร์ เราสามารถที่จะใช้ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ NoteBook
Crossover Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Rx+ 3 Tx+
2 Rc- 6 Tx-
3 Tx+ 1 Rc+
6 Tx- 2 Rc-


Straight Through Cable
RJ-45 PIN RJ-45 PIN
1 Tx+ 1 Rc+
2 Tx- 2 Rc-
3 Rc+ 3 Tx+
6 Rc- 6 Tx-
ข้อมูลโดยฝ่ายวิศวกรรมและบริการ บริษัทแอดวานซ์ เน็ตเวิร์ค ทรินิตี้ จำกัด

OSI 7 layer




(Open System Interconnection Reference Model)




Application Layer


เป็น เลเยอร์ที่กำหนดอินเตอร์เฟซระหว่างแอปพลิเคชั่นที่ทำงานบนเครื่อง คอมพิวเตอร์กับซอฟแวร์สื่อสารต่างๆที่ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น web browser ถือเป็น แอปพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อมันต้องการรับส่งข้อมูลเว็บ กับเว็บเซิฟเวอร์ มันจะต้องใช้ความสามารถของ Layer ที่ 7 (ในที่นี้คือ protocol HTTP )ในการสื่อสารในเลเยอร์ ล่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งเว็บเพจที่ต้องการ


Presentation Layer


จุด ประสงค์ของเลเยอร์นี้คือ กำหนดฟอร์แมตของการสื่อสาร เช่น ASCII Text, JPEG การเข้ารหัสก็รวมอยู่ในเลเยอร์นี้ด้วย เ่ช่นโปรแกรม FTP ต้องการส่งไฟล์กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง โปรโตคอล FTP จะอนุญาติให้ผู้ใช้ระบุ ฟอร์แมตของข้อมูล ที่โอนย้ายกันได้ว่าจะเป็นแบบ ASCII text หรือ binary


Session Layer


เป็นLayer ที่ควบคุมการสื่อสารจากต้นทาง ไปยังปลายทางแบบ end to end และคอยควมคุมช่องทางการสื่อสารในกรณีที่มีหลายๆโปรเซสต้องการส่งข้อมูลพร้อม กัน


Transport Layer


เป็นเล เยอร์ที่มีหน้าที่หลักๆในการแบ่งข้อมูล หรือที่เรียกว่า segmentation ,ทำหน้าที่ประกบรวมข้อมูลจากเลเยอร์ล่าง (assembly) และให้บริการแก้ ไขปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิด ขึ้นระหว่างการขนส่ง หน่วยของข้อมูล segment ตัวอย่างโปรโตคอล ในเลเยอร์นี้ คือ TCP UDP


Network Layer


เป็น Layer ที่มีหน้าที่หลักในการส่ง packet
จากเครื่องต้นทางให้ไปถีงปลายทางด้วยความพยายามที่ดีที่สุด (best effort
delivery) layer นี้จะกำหนดให้มีการตั้ง logical address
ขึ้นมาเพื่อใช้ระบุตัวตน ตัวอย่างของ protocol นี้เช่น IP และ logical
address ที่ใช้คือหมายเลข ip นั่นเอง layer
นี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ซึ่งที่ทำงานอยูบน Layer นี้คือ
router นั่นเอง protocol ที่ทำงานใน layer
นี้จะไม่ทราบว่าpacketจริงๆแล้วไปถึงเครื่องปลายทางหรือไม่
หน้าที่ยืนยันว่าข้อมูลได้ไปถึงปลายทางจริงๆแล้วคือหน้าที่ของ Transport
Layer นั่นเอง  หน่วยของ layer นี้คือ packet    ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ IP,IPX,Appletalk


Data Link Layer


รับผิดชอบในการส่งข้อมูลบน network แต่ละประเภทเช่น Ethernet,Token
ring,FDDI, หรือบน WAN ต่างๆ ดูแลเรื่องการห่อหุ้มข้อมูลจาก layer บนเช่น
packet ip ไว้ภายใน Frame และส่งจากต้นทางไปยังอุปกรณ์ตัวถัดไป
layer นี้จะเข้าใจถึงกลไกและอัลกอริทึ่มรวมทั้ง format จอง frame
ที่ต้องใช้ใน network ประเภทต่างๆเป็นอย่างดี ในnetworkแบบEthernet layer
นี้จะมีการระบุหมายเลข address
ของเครื่อง อุปกรณ์ต้นทางกับเครื่องอุปกรณ์ปลาทาง ด้วย hardware address
ที่เรียกว่า MAC Address


MAC Address เป็น address
ที่ฝังมากับอุปกรณ์นั้นเลยไม่สามารถเปลี่ยนเองได้ MAC Address
เป็นตัวเลขขนาด 6 byte, 3 byte แรกจะได้รับการจัดสรรโดยองค์กรกลาง IEEE
ให้กับผู้ผลิตแต่ละราย ส่วนตัวเลข 3 byte หลังทางผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนดเอง


หน่วยของ layer นี้คือ Frame    ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้คือ Ethernet,Token Ring,IEEE 802.3/202.2,Frame Relay,FDDI,HDLC,ATM เป็นต้น


Physical Layer


เล เยอร์นี้จะกำหนดมาตราฐานของสัญญาณไฟฟ้า และมาตราฐานของ คอนเน็กเตอร์ รวมทั้งมาตราฐานเคเบิล เช่นมาตราฐานสาย CAT หัวต่อ V.35 ที่ใช้ใน WAN และ มาตราฐาน RS232 รวมทั้งแรงดันไฟฟ้าและรูปแบบการรับส่งบิตข้อมูลที่เกิดขึ้นในสื่อทำสัญญาณ



อ้างอิงจากหนังสือ อ.เอกสิทธิ์ วิริยจารี

คำสั่ง Linux เบื้องต้น [ Basic Linux Command ]


คำสั่ง ls (list)
ใช้ในการดูข้อมูลในไดเรคเทอรี
รูปแบบการใช้งาน
ls -l => ดูข้อมูลในไดเรคเทอรีแบบละเอียด
ls -a => ดูข้อมูลในไดเรคเทอรีรวมทั้งไฟล์ที่มีการซ่อนไว้ด้วย
ตัวอย่างการใช้งาน
$  ls
Desktop
$ ls   /home
cp lost+found
$ ls   -l
total 4
drwxr-xr-x 4 cp cp 4096 May 15 21:56 Desktop
$ ls   -a
. .beagle .gconf .gstreamer-0.10 .nautilus
.. Desktop .gconfd .gtkrc-1.2-gnome2 .redhat
.bash_logout .dmrc .gnome .ICEauthority .Trash

คำสั่ง man (Manual)
ใช้สำหรับดูวิธีการใช้งานคำสั่งต่างๆในการใช้งาน เราจะพิมพ์ man แล้วตามด้วยคำสั่งที่ต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งจะมีหน้าต่างขึ้นมาแสดงขึ้นมา เมื่อจะออกจากคำสั่ง man ให้กดปุ่ม q
ตัวอย่างการใช้งาน
$ man   ls
LS(1) User Commands LS(1)
NAME
ls – list directory contents
SYNOPSIS
ls [OPTION]… [FILE]…
DESCRIPTION
List information about the FILEs (the current directory by default). Sort

คำสั่ง mkdir (Make Directory)
ใช้ในการสร้างไดเรคเทอรี
ตัวอย่างการใช้งาน
$ mkdir   linux-command
$ ls
Desktop   linux-command
คำสั่ง cd (Change Directory)
ใช้ในการเปลี่ยนไดเรคเทอรีที่ทำงาน
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd   linux-command
แบบทดสอบ
ให้สร้างไดเรคเทอรีชื่อว่า  backups  ภายใต้ไดเรคเทอรี linux-command
ไดเรคเทอรี . และ ..
จากที่ได้ใช้คำสั่ง ls -a จะเห็นว่ามีไดเรคเทอรี . และ .. ขึ้นมาด้วย ซึ่งทั้งสองไดเรคเทอรี มีความสำคัญดังนี้ (.) เป็นไดเรคเทอรีปัจจุบัน การใช้คำสั่ง cd . จะหมายถึงการไปยังไดเรคเทอรีปัจจุบัน(..) เป็นไดเรคเทอรีที่อยู่สูงกว่าไดเรคเทอรีปัจจุบัน (Parent Directory) การใช้คำสั่ง cd .. จะหมายถึง การไปยังไดเรคเทอรีที่อยู่สูงกว่าไดเรคเทอรีปัจจุบัน
คำสั่ง pwd (Print Working Directory)
ใช้ในการแสดงพาธที่อยู่ ณ ปัจจุบันตัวอย่างการใช้งาน
$ pwd
/home/cp
~ ( Home Directory )
ใช้ในการอ้างอิง Home Directory แทนพาธเต็มตัวอย่างการใช้งาน
$ cd   ~
คำสั่ง cp ( Copy )
ใช้ในการคัดลอกไฟล์รูปแบบคำสั่งcp file1 file2ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ cp /etc/services .
แบบทดสอบ
ให้คัดลอกไฟล์ services ไปเป็นไฟล์สำรองชื่อ services-org

คำสั่ง mv ( Move )
ใช้ในการย้ายที่อยู่ (Move) หรือเปลี่ยนชื่อ (Rename)
ไฟล์หรือไดเรคเทอรี รูปแบบการใช้งาน
mv     ต้นทาง      ปลายทาง
ตัวอย่างการใช้งาน
$ mv   services-org   backups
คำสั่ง rm (Remove) ใช้ในการลบไฟล์ , rmdir (Remove Directory)
ใช้ในการลบไดเรคเทอรีการ ใช้งานคำสั่ง rm และ rmdir จะคล้ายๆ กัน ซึ่ง rmdir จะไม่สามารถลบไดเรคเทอรี ที่มีข้อมูลอยู่ข้างในได้ ต้องใช้คำสั่ง rm -r แทน ถ้าต้องการลบข้อมูลข้างในด้วยตัวอย่างการใช้งาน
$ cd    ~/linux-command
$ cp    services    services.tmp
$ ls
backups services services.tmp
$ rm services.tmp
$ ls
backups services
คำสั่ง cat (Concatenate)
ใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ cat services


iqobject 48619/tcp # iqobject
iqobject 48619/udp # iqobject
# Local services
คำสั่ง less
ใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ทีละหน้าจอคำ สั่ง less จะใช้สำหรับดูข้อมูลในไฟล์ทีละหน้าจอ สามารถใช้ปุ่ม space bar สำหรับการดูหน้าถัดไป และสามารถเลื่อนลูกศรขึ้น-ลง ได้ ถ้าต้องการออกจากหน้าจอของคำสั่ง less ให้กดปุ่ม qตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ less services
# /etc/services:
# $Id: services,v 1.42 2006/02/23 13:09:23 pknirsch Exp $
#
# Network services, Internet style


คำสั่ง tail
ใช้สำหรับดูข้อมูล ที่บรรทัดล่างสุดของไฟล์
รูปแบบการใช้งาน
tail   -n   number-of-line   filename => ดูข้อมูลที่บรรทัดล่างสุดของไฟล์แบบระบุจำนวนบรรทัด
tail -f filename => ดูข้อมูลของไฟล์นั้นๆ แบบเรียลไทม์
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd   ~/linux-command
$ tail services
nimspooler 48001/udp # Nimbus Spooler
nimhub 48002/tcp # Nimbus Hub
nimhub 48002/udp # Nimbus Hub
nimgtw 48003/tcp # Nimbus Gateway
nimgtw 48003/udp # Nimbus Gateway
com-bardac-dw 48556/tcp # com-bardac-dw
com-bardac-dw 48556/udp # com-bardac-dw
iqobject 48619/tcp # iqobject
iqobject 48619/udp # iqobject
# Local services
คำสั่ง grep
ใช้ในการค้นหาข้อความในไฟล์
รูปแบบการใช้งาน
grep   'keyword'   filename
grep   -i   'keyword'   filename => ค้นหาแบบไม่สนใจตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ (Non-Case Sensitive)
ตัวอย่างการใช้งาน
$ cd ~/linux-command
$ grep ssh services
ssh 22/tcp # SSH Remote Login Protocol
ssh 22/udp # SSH Remote Login Protocol
x11-ssh-offset 6010/tcp # SSH X11 forwarding offset
sshell 614/tcp # SSLshell
sshell 614/udp # SSLshell
sdo-ssh 3897/tcp # Simple Distributed Objects over SSH
sdo-ssh 3897/udp # Simple Distributed Objects over SSH
ssh-mgmt 17235/tcp # SSH Tectia Manager
ssh-mgmt 17235/udp # SSH Tectia Manager
การเปลี่ยนเส้นทางการแสดงผลของคำสั่ง (Redirection)
โดย ปกติแล้ว คำสั่งลินุกซ์หลายคำสั่ง จะให้ผลลัพธ์ของการใช้คำสั่งออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า standard output และโดยปกติการรับข้อมูลก็จะมาจากการพิมพ์ผ่านแป้นคีย์บอร์ด หรือเรียกว่า standard input แต่บ่อยครั้งที่ผู้ดูแลระบบต้องการให้ผลลัพธ์ของการใช้คำสั่ง ไปเก็บไว้ที่ไฟล์บ้าง หรือให้ส่งเมลล์บ้าง หรือถ้าเป็นส่วนของการรับข้อมูล ก็สามารถเปลี่ยนจากการรับจากแป้นคีย์บอร์ด มาเป็นรับจากไฟล์บ้าง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เรียกว่า Redirection
การเปลี่ยนเส้นทางที่ฝั่งแสดงผล ( Output )
สัญลักษ์ที่ใช้แทนการส่งออกข้อมูลคือ >ตัวอย่างการใช้งานคำ สั่ง cat โดยปกติแล้ว จะแสดงข้อมูลในไฟล์ แล้วแสดงออกมาทางจอภาพ แต่ในบางครั้ง เราต้องการให้คำสั่ง cat เขียนข้อมูลลงบนไฟล์ ตัวอย่างเช่น สร้างไฟล์ชื่อว่า faculties ไว้เก็บชื่อคณะต่างๆ เมื่อใส่รายชื่อเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม ^d (Ctrl + d) เพื่อบันทึกและออกจากการเขียนไฟล์
$ cat   >   faculties
engineering
science
technology
กด ( Ctrl + d ) เพื่อบันทึกและออกจากการเขียนไฟล์
ถ้าหากต้องการเพิ่มข้อมูลลงในไฟล์เดิม โดยที่ข้อมูลไม่หายไป (Append) ให้เปลี่ยนเส้นทางจาก  > ไปเป็น  >> เพื่อเป็นการระบุว่า จะทำการเขียนไฟล์ต่อจากเดิม ดังนี้
$ cat   >>   faculties
management
science
กด (Ctrl + d) เพื่อบันทึก และออกจากการเขียนไฟล์
การเปลี่ยนเส้นทางที่ฝั่งรับข้อมูล (Input)
สัญลักษ์ที่ใช้แทนการรับข้อมูลคือ <ตัวอย่างการใช้งานการเรียงข้อมูลในไฟล์ใหม่ ด้วยใช้คำสั่ง sort โดยเรานำไฟล์ที่ยังไม่มีการจัดเรียง มาเป็นอินพุต (input) ของคำสั่ง sort ดังนี้
$ cat   >>  number
2
3
9
7
4
กด ( Ctrl + d ) เพื่อบันทึกและออกจากการเขียนไฟล์
$ sort  <  number
2
3
4
7
9
ไปป์ (Pipe)
เป็น การเชื่อมต่อกันระหว่าง input กับ output โดย output ของคำสั่งหนึ่ง จะเป็น input ของอีกคำสั่งหนึ่ง จะใช้สัญลักษ์เป็น | (Vertical Bar)ตัวอย่างการใช้งานตัวอย่าง นี้เป็นการหาข้อความ ftp ที่อยู่ในไฟล์ services แต่เนื่องจากว่า มีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถดูได้ทั้งหมดในครั้งเดียว จึงต้องมีการสร้างไฟล์ขึ้นมาชื่อว่า temp.txt เพื่อใช้ในการเก็บผลลัพธ์ จากนั้นจึงใช้คำสั่ง less เพื่อไปอ่านข้อมูลจากไฟล์ temp.txt จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
$ grep   ftp   /etc/services   >   temp.txt
$ less   temp.txt
ถ้า มีการใช้ไปป์ (Pipe) จะทำให้ไม่จำเป็นต้องมีไฟล์ temp.txt เราสามารถเชื่อมผลลัพธ์ของคำสั่ง grep ftp services ให้ไปเป็นอินพุตของคำสั่ง less ได้ทันที ดังนี้
$ grep   ftp   /etc/services   |   less
คำสั่ง df
ใช้ในการตรวจดูการใช้พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ตัวอย่างการใช้งาน
$ df
Filesystem 1K-blocks Used Available Use% Mounted on
/dev/sda2 5952284 1954800 3690244 35% /
/dev/sda1 124427 10175 107828 9% /boot
tmpfs 257580 0 257580 0% /dev/shm
/dev/sda6 30555364 180716 28797472 1% /home
/dev/sda3 2972268 116068 2702780 5% /var
คำสั่ง du
ตรวจดูการใช้พื้นท์ของไฟล์และไดเรคเทอรีตัวอย่างการใช้งาน
$ du -s *
104 Desktop
740 linux-command
คำสั่ง find
ใช้ในการค้นหาไฟล์หรือไดเรคเทอรีตัวอย่างการใช้งานค้นหาไฟล์หรือไดเรคเทอรี ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ser โดยเริ่มค้นหาจากไดเรคเทอรีปัจจุบัน ( . )
$ cd    ~/linux-command
$ find . -name "ser*" -print
./backups/services-org
./services

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

เกมแนะนำ Cisco Aspire the game Beta 4

หากใครเคยเป็น partner ของ cisco น่าจะพอรู้จักกันอยู่ครับ เกมส์นี้
เกมส์ นี้เป็นประเภท simulator ของการประกอบธุรกิจในสายงานด้านเครือข่ายครับ โดยจะมี mission ตั้งแต่ง่ายๆ จนถึงยากมาก โดย theme การเล่นก็จะเป็นเมืองนึงครับ แล้วเราก็ต้องไปติดต่อลูกค้าเพื่อให้ service หรือติดตัั้งระบบเครือข่าย ภายใต้ข้อกำหนดต่างๆ รวมถึงแก้ปัญหาทางด้านเครือข่ายด้วยครับ เมื่อเราทำสำเร็จ ก็จะได้ค่าตอบแทน และก็ได้ส่วนของค่า service charge และก็จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่างๆครับ ไม่ว่าจะเป็น business skill หรือ configuration skill ซึ่งแต่ละ mission ก็จะยากแตกต่างกันไป
สรุป คราวๆ เอาเป็นว่า ใครเล่นจบ ผมคิดว่าเอาไปใช้กับชีวิตจริงได้เป็นอย่างดีเลย หากใครจะเอาดีทางด้านประกอบธุรกิจทางด้านนี้ เป็นเกมส์ที่มีประโยชน์มากครับ ที่สำคัญภาษาอังกฤษท่านจะแข็งแรงครับ

มาดูรูปตัวอย่างในเกมส์บ้าง..
นี้เป็น mission แรกๆครับ ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก


ตาม ด้วย mission ที่ซ้บซ้อนนิดนึงครับ จะเห็นว่าอุปกรณ์ที่ใช้ interface ต่างๆ เหมือนของจริงแทบทุกอย่างครับ อย่างเวลาเลือกใช้อุปกรณ์ก็ต้องเลือกให้เหมาะสม เพราะมันจะมี skill ของการเลือกใช้อุปกรณ์ด้วย เรียกว่า เจ๋งมากครับ


มีการติดต่อกับผู้ให้บริการ(ISP) เพื่อเลือกใช้ service ต่างๆ ตาม site งานครับ


ภาพภายในบ้าน


หากตังค์เหลือ ก็ไปซื้ออุปกรณ์ มาทดลอง ซ้อมทำ lab ที่บ้านได้


ร้านค้าที่เราต้องวิ่งเข้าออกเป็นประจำ


หาก ใคร ไม่เข้าใจว่าการ config ตาม device ต่างๆ ต้องทำอย่างไร รวมถึงเนื้อหาบางส่วนที่ต้องรู้เช่น การแบ่ง VLSM ,  NAT PAT ,  Routing Protocols both of dynamic[OSPF , RIP] and static , etc ท่านสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ แต่เนื้อหาจะเป็น eng ล้วนนะครับ


troubleshoot lab configuration



เล่นเสร็จก็เอา rang ไปเทียบกับคนอื่นได้คับ

Business Intelligence (BI) คือ

Business Intelligence (BI) คือ ซอฟต์แวร์ (Software) ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ โดยทำหน้าที่ในการดึงข้อมูลจาก Database โดยตรงแล้วนำเสนอในรูปแบบของ Report ชนิดต่างๆที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ งาน การวิเคาระห์ข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบหลายมิติ (Multidimensional Model) ซึ่งจะทำให้สามารถดูข้อมูลแบบเจาะลึก (Drill-down)ได้
องค์ประกอบของ Business Intelligence
เทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงาน Business intelligence คือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในลักษณะที่เอื้อต่อการนำข้อมูลไปใช้ในสนับสนุนการ ตัดสินใจ ซึ่งจะประกอบไปด้วยระบบข้อมูล และโปรแกรมแอพพลิเคชั่น ด้านการวิเคราะห์ มากมายหลายระบบ เช่น
  • ดาต้าแวร์เฮ้าส์ (Data Warehouse)คือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในและ ภายนอกองค์กร โดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบฐาน ข้อมูลให้สอดคล้องกับการนำข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้งาน
  • ดาต้ามาร์ท (Data Mart)  คือ คลังข้อมูลขนาดเล็กมีการเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เช่น เก็บข้อมูลส่วนของการเงิน ส่วนของสินค้าคงคลัง ส่วนของการขาย เป็นต้น ซึ่งทำให้การจัดการข้อมูลการนำเอาข้อมูลไปสร้างความสัมพันธ์และวิเคราะห์ต่อ ก็ง่ายขึ้น
  • การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)คือการนำคลังข้อมูลหลักมาประมวลผลใหม่ มาแสดงผลเฉพาะสิ่งที่สนใจโดยกระบวนการในการดึงข้อมูลออกจากฐานข้อมูลจะมี สูตรทางธุรกิจ (Business Formula)และเงื่อนไขต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องและผลลัพธ์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่นเป็นแผนภูมิในการตัดสินใจ (Decision Trees) เป็นต้น
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายมิติ (OLAP) คือการสืบค้นข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเลือกผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบของตารางหรือ กราฟ โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลใน มุมมองหลากหลายมิติ (Multi-Dimensional) โดยที่ผู้ใช้สามารถที่จะดูข้อมูลแบบเจาะลึก(Drill Down) ได้ตามต้องการ
  • ระบบสืบค้นและออกรายงานต่างๆ (Search, Report)
Business Intelligence คือ ซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์  และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน  และใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล  ของงานในมุมมองต่างๆ   ตามแต่ละแผนก  เช่น
  • วิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสำหรับผู้บริหาร
  • วิเคราะห์และวางแผนการขาย / การตลาด เพื่อประเมินช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ
  • วิเคราะห์สินค้าที่ทำกำไร สูงสุด / ขาดทุนต่ำสุด เพื่อการวางแผนงานด้านการตลาด และการผลิต
  • วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อยอดขายของสินค้า ฯลฯ
  • วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ฯลฯ
Business Intelligence คือ ซอฟต์แวร์ (Software) ที่นำข้อมูลที่มีอยู่เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับมุมมองในการวิเคราะห์  และตรงตามความต้องการ
ของผู้ใช้งาน  และใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล  ของงานในมุมมองต่างๆ   ตามแต่ละแผนก  เช่น
  • วิเคราะห์การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อการตัดสินใจด้านการลงทุนสำหรับผู้บริหาร
  • วิเคราะห์และวางแผนการขาย / การตลาด เพื่อประเมินช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ
  • วิเคราะห์สินค้าที่ทำกำไร สูงสุด / ขาดทุนต่ำสุด เพื่อการวางแผนงานด้านการตลาด และการผลิต
  • วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อยอดขายของสินค้า ฯลฯ
  • วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน ฯลฯ
Business Intelligence ยังมีจุดเด่นเพิ่มขึ้นอีกในด้าน
  • ใช้งานง่ายเพียงแค่คลิกเมาส์ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรายงานได้โดยไม่ต้องมี การคีย์ข้อมูลใหม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถถาม ตอบคำถามทางธุรกิจได้หลายมุมมองเพียงในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งช่วยการตัดสินใจแม่นยำ และรวดเร็วกว่าคู่แข่ง ทั้งในเชิงกว้าง และเชิงลึก
  • สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่หลากหลายภายในองค์กรมาทำการวิ เคราะห์ เช่น Excel, FoxPro, Dbase, Access, ORACLE, SQL Server, Informix, Progress, DB2 เป็นต้น โดยไม่มีการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ

PES 2012 Review

PES 2012 :www.รีวิวเกมส์.com
เชื่อ แน่นอนครับว่าไม่น้อยคนกำลังตั้งตารอเกมส์ตัวใหม่จกค่าย Konami ตัวนี้นั้นคือ PES 2012 นั้นเองพอดีทาง รีวิวเกมส์.com เห็นแล้วนะครับว่ามี Demo ออกมาแล้วก็เลยนำมาให้ท่านได้ชมรีวิวเกมส์คร่าวๆอีกครั้งว่าในเกมส์ที่เรารอ คอยจะมีลักษณะยังไงบ้างไปชมกันดีกว่าครับ..


PES 2012 :www.รีวิวเกมส์.com
      PES 2012 :www.รีวิวเกมส์.com
PES 2012 :www.รีวิวเกมส์.com
PES 2012 :www.รีวิวเกมส์.com
PES 2012 :www.รีวิวเกมส์.com


ตัวอย่างการติดตั้งและคอนฟิก DHCP Server บน ubuntu

โดย : อดิศร  ขาวสังข์
เขียนเมื่อ : 21/01/2007
ทดลองบน : Ubuntu 6.10


บทนำ
DHCP Server บน Linux Server อาจจะถูกลดบทบาทลงไปบ้างเพราะเดี๋ยวนี้อุปกรณ์เราเตอร์เล็ก ๆ ไ่ม่่ว่าจะเป็น Router ทั่วไป หรือ ADSL/D.SHDSL หรืออื่น ๆ จะมี DHCP Server มาในตัวแล้วเป็นส่วนใหญ่

ขั้นตอนการติดตั้งและคอนฟิก
  1. ติดตั้ง dhcp server ด้วยคำสั่ง
    apt-get install dhcp3-server

    ซึ่งอาจจะมีการถามหาแผ่น CD Rom นะครับ

  2. ตำแหน่งไฟล์คอนฟิกของ DHCP จะอยู่ที่ /etc/dhcp3 ดังรูป



  3. แ้ก้ไขไฟล์คอนฟิกด้วยคำสั่งดังนี้
    vim /etc/dhcp3/dhcpd.conf

  4. ในไฟล์คอนฟิกจะมีการเซ็ตค่าต่าง ๆ ไว้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว แต่ค่าที่เป็นชุดของ subnet ที่จะจ่ายให้เครื่อง client จะถูก comment เอาไว้ ในที่นี้ผู้เีีขียนได้เลือกเอาค่าของ subnet หนึ่งที่มีอยู่แล้วที่คิดว่าเหมาะสมที่จะใช้ ด้วยการเอาเครื่องหมาย "#" ออก และเปลี่ยนค่าให้ตรงกับเครือข่ายของตัวเอง ดังรูป



  5. แก้ไขไฟล์ /etc/default/dhcp3-server เพื่อกำหนดอินเตอร์เฟสที่จะ่จ่าย IP ให้เครื่อง Client ซึ่งของผู้เขียนเป็น eth1
    vim /etc/default/dhcp3-server

    โดยกำหนดค่าให้ INTERFACES="eth1"

  6. start การทำงานของ dhvp server ด้วยคำสั่งดังนี้
    /etc/init.d/dhcp3-server start


  7. ถ้าต้องการมอนิเตอร์ดูว่า DHDP Server จ่าย IP ให้เครื่อง client อย่างไรบ้าง ก็ดูได้ที่ไฟล์ /var/lib/dhcp3/dhcpd.leases ซึ่งมีค่าดังตัวอย่างในรูป